ไฟฟ้า / แก๊ส / น้ำประปา / โทรศัพท์ / แท็กซี่
Q.
เมื่อย้ายเข้าที่พักแล้วต้องการใช้ไฟฟ้า ต้องทำอย่างไร
A.
ในประเทศญี่ปุ่น แต่ละพื้นที่ถูกกำหนดให้ขึ้นอยู่กับบริษัทจำหน่าย ไฟฟ้าใดบริษัทหนึ่งอยู่แล้ว เมื่อย้ายเข้าบ้านแล้วและต้องการเริ่มใช้ไฟฟ้า ให้โทรศัพท์แจ้งบริษัทตามเบอร์โทรศัพท์ที่ติดอยู่ข้างตู้ควบคุมการเปิดปิดกระแสไฟฟ้า (เบรกเกอร์)หรือบางบริษัทให้กรอกชื่อและวันที่ย้ายเข้าลงในไปรษณียบัตร ที่ติดอยู่ข้างตู้ โดยทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
• เปิดสวิทช์เบรกเกอร์
• เปิดสวิทช์อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้ารั่ว
• เปิดสวิทช์เบรกเกอร์ที่จ่ายกระแสไฟฟ้าไปยังห้องต่างๆ ของบ้าน
Q.
ระบบไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่นเป็นอย่างไร
A.
ระบบไฟฟ้าในญี่ปุ่นเป็นระบบ 100 โวลท์ 50 เฮิร์ทซ์ (ด้านแถบตะวันตกของ ประเทศญี่ปุ่นจะเป็น 60 เฮิร์ทซ์) จึงต้องระวังการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าจากต่าง ประเทศเพราะบางเครื่องจะใช้กับไฟ 220 โวลท์ โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าจากประเทศไทย
หากประสงค์จะนำเครื่องใช้ไฟฟ้าจากประเทศไทยมาใช้ในญี่ปุ่น หรือนำจากญี่ปุ่นไปใช้ในประเทศไทย ก็ควรจัดเตรียมหม้อแปลงไฟฟ้า (transformer) ใช้ประกอบกันด้วย
Q.
เมื่อย้ายเข้าหรือย้ายออก ต้องดำเนินการในเรื่องแก๊ส อย่างไร
A.
ต้องแจ้งให้บริษัทแก๊สทราบล่วงหน้าก่อนวันย้ายเข้า เพื่อพนักงานจะไปตรวจ สอบและเปิดวาล์วแก๊สโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งนี้ อาจเช่าเครื่องแจ้งเตือน ด้วยเสียง หากเกิดแก๊สรั่ว
เมื่อต้องการย้ายออก ต้องแจ้งให้บริษัททราบล่วงหน้าเช่นกัน โดยต้องแจ้งวันย้ายออกพร้อมทั้งหมายเลขลูกค้าที่พิมพ์บนใบเสร็จรับเงินหรือใบแจ้งมิเตอร์ เพื่อพนักงานจะมาระงับการจ่ายแก๊สและคิดเงินค่าแก๊สที่ค้างชำระ
Q.
ชนิดของแก๊สที่ใช้ในบ้านเหมือนกันทั้งประเทศญี่ปุ่นหรือไม่
A.
ไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ โดยสามารถแยกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ แก๊สจากถัง และแก๊สที่มาตามท่อส่ง โดยท่านควรตรวจสอบชนิดของแก๊สก่อนใช้ เพื่อเลือกใช้เครื่องใช้แก๊สได้ตรงตามชนิด เนื่องจากหากใช้เครื่องใช้แก๊สไม่ตรงตามชนิดแก๊สที่มีอยู่นั้น อาจทำให้เกิดการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ซึ่งเป็นอันตรายมาก
Q.
ขั้นตอนตรวจสอบแก๊สเพื่อความปลอดภัยควรทำอย่างไร และหากได้กลิ่นแก๊ส ต้องทำอย่างไรบ้าง
A.
โปรดระวังสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้เป็นพิเศษในขณะกำลังใช้แก๊ส
• ตรวจสอบเปลวไฟทุกครั้งที่เปิดและปิดไฟ
• ปิดวาล์วแก๊สก่อนออกจากบ้านหรือก่อนเข้านอนทุกครั้ง
• ภายในบ้านหรือห้องจัดให้มีการระบายอากาศที่ดีขณะใช้แก๊ส
โปรดทำสิ่งต่อไปนี้เมื่อได้กลิ่นแก๊สหรือแก๊สรั่ว
• เปิดหน้าต่างและประตูให้กว้างที่สุด รีบออกจากห้อง และปิดวาล์วแก๊สใหญ่ ด้านนอกบ้าน
• ติดต่อบริษัทแก๊ส
• อย่าเปิดหรือปิดสวิทช์เครื่องใช้ไฟฟ้า และอย่ากระทำการอื่นที่ก่อให้เกิดประกายไฟ
Q.
ค่าแก๊ส และการชำระเงินเป็นอย่างไร
A.
• ค่าแก๊สจะประกอบด้วยค่าใช้จ่ายพื้นฐาน และค่าแก๊สตามปริมาณที่ใช้ โดยจะมีการเรียกเก็บเป็นรายเดือน
• การชำระเงินมี 2 วิธีคือตัดจากบัญชีธนาคารโดยอัตโนมัติ ซึ่งใบแจ้งจะส่งมา ภายหลัง และการรับใบแจ้งไป
Q.
เมื่อย้ายเข้าหรือย้ายออก ต้องติดต่อเรื่องการใช้น้ำประปาอย่างไร
A.
ต้องแจ้งให้แผนกบริการน้ำประปาประจำเขต/อำเภอที่อาศัยอยู่ทราบก่อนวัน ย้ายเข้าและย้ายออก
Q.
เมื่อเกิดน้ำรั่ว จะต้องทำอย่างไร
A.
ต้องรีบแจ้งให้แผนกบริการน้ำประปาประจำเขต/อำเภอที่อาศัยอยู่
Q.
ค่าน้ำ และการชำระเงินเป็นอย่างไร
A.
• ค่าน้ำจะประกอบด้วยค่าใช้จ่ายพื้นฐาน และค่าน้ำตามปริมาณที่ใช้ โดยจะเรียก เก็บเป็นรายเดือน หรือ 2 เดือนต่อครั้ง ทั้งนี้ สำหรับพื้นที่ซึ่งใช้น้ำบาดาล ค่าน้ำ ก็จะแตกต่างกันไป
• การชำระเงินมี 2 วิธี คือ ตัดจากบัญชีธนาคารโดยอัตโนมัติ ซึ่งใบแจ้งจะส่ง มาภายหลัง และการรับใบแจ้งไปจ่ายผ่านธนาคาร หรือที่ทำการไปรษณีย์ หรือที่ว่าการเมือง หรือเขต/อำเภอ
Q.
ระบบโทรศัพท์ต่างๆ มีกี่ประเภท และมีการบริการอย่างไรบ้าง
A.
ระบบโทรศัพท์มี 3 ประเภทและมีระบบการให้การบริการดังนี้
• โทรศัพท์สาธารณะ คือโทรศัพท์ที่ติดตั้งตามที่สาธารณะ เช่น สถานีรถไฟ ริมทางเดินถนน หรือสถานที่สาธารณะต่างๆ
• โทรศัพท์เช่าคู่สาย คือโทรศัพท์ที่ติดตั้งตามบ้านพักอาศัย บริษัท ห้างร้าน ต่างๆ สอบถามรายละเอียดขอเช่าคู่สายที่หมายเลขโทรศัพท์ 166
• โทรศัพท์มือถือ คือโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพกพา สามารถใช้ได้ทั่วประเทศ และสามารถขอซื้อและรับบริการได้จากบริษัทมือถือต่างๆ ทั่วไปในญี่ปุ่น เช่น เอยู ซอฟท์แบงค์ โดโคโมะ เป็นต้น
การบริการโทรศัพท์ มีดังนี้
• โทรศัพท์ภายในประเทศ สามารถกดเบอร์รหัสประจำเมือง แล้วตามด้วย หมายเลขเครื่อง เช่น ในกรุงโตเกียว กดรหัส 03+ หมายเลขโทรศัพท์
• โทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ สามารถเลือกใช้บริการทั้งโทรศัพท์บ้าน โทรศัพท์สาธารณะ (มีป้ายระบุว่าบริการระหว่างประเทศ) โทรศัพท์มือถือ โดยอ้างอิงวิธีการใช้โทรศัพท์ตามบริษัทฯ ที่กำหนดให้บริการเนื่องจากแต่ละ ที่มีระบบการใช้แตกต่างกันไป
• สอบถามข้อมูลต่างๆ ได้จากหมายเลขโทรศัพท์ ดังนี้
• เบอร์ 104 สอบถามหมายเลขโทรศัพท์ต่างๆ
• เบอร์ 106 ชำระค่าบริการโทรศัพท์โดยบัตรเครดิตหรือชำระค่าบริการโดย การเรียกเก็บเงินปลายทาง
• เบอร์ 113 บริการรับแจ้งโทรศัพท์ชำรุด/ใช้งานไม่ได้
• เบอร์ 114 ตรวจสอบสภาพการใช้งานของโทรศัพท์ เมื่อหมายเลข ปลายทางสัญญานไม่ว่างตลอดเวลา
• เบอร์ 115 ใช้โทรเมื่อต้องการส่งโทรเลข
• เบอร์ 116 สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการขอย้ายโทรศัพท์กรณีย้ายที่พักอาศัย
การชำระค่าบริการโทรศัพท์ มีดังนี้
สามารถชำระได้ด้วยตนเองที่บริษัทเอ็นทีที ร้านสะดวกซื้อ เช่น เอเอ็มพีเอ็ม แฟมมิลิมาร์ท เป็นต้น ที่ทำการไปรษณีย์ภายในเวลาที่กำหนด หรือชำระโดย การโอนเงินผ่านบัญชีธนาคารต่างๆ หลังจากที่ลงทะเบียนแจ้งธนาคารเพื่อขอให้หักเงินจากบัญชีโดยอัตโนมัติ
Q.
การใช้บริการรถแท็กซี่ในญี่ปุ่นเป็นอย่างไรบ้าง ค่าบริการโดยสารเท่าไหร่
A.
• ที่สถานีรถไฟทุกสถานีจะมีจุดให้บริการซึ่งจะมีรถแท็กซี่บริการจอดรอรับส่ง ผู้โดยสาร หากประสงค์จะให้รถแท็กซี่ไปรับที่บ้านพักก็สามารถโทรศัพท์แจ้งบริษัทรถแท็กซี่ ซึ่งสามารถตรวจสอบรายละเอียดจากข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตได้
• ประตูรถแท็กซี่จะเปิดปิดอัตโนมัติ และโปรดรัดเข็มขัดนิรภัยขณะใช้บริการ
• ค่าบริการโดยสารรถแท็กซี่ขึ้นอยู่กับพื้นที่ ส่วนใหญ่อัตราการให้บริการจะขึ้น กับระยะทาง สำหรับในเขตกรุงโตเกียวนั้น ส่วนใหญ่อัตราจะเริ่มต้นที่ราคา 710 เยน สำหรับ 2 กิโลเมตรแรก และหากรถวิ่งช้ากว่า 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ค่าโดยสารจะเพิ่มขึ้น 80 เยน ทุกๆ 1 นาที 45 วินาที และถ้าใช้บริการรถแท็กซี่ ระหว่างเวลา 23.00 - 05.00 น. ค่าโดยสารจะเพิ่มขึ้น 30 เปอร์เซนต์จาก อัตราปกติ
• การชำระค่าบริการสามารถชำระได้ทั้งเงินสดและบัตรเครดิต (จะมีป้ายบนหลังคารถหรือติดที่ประตูระบุว่ารับชำระค่าโดยสารโดยบัตรเครดิต)
Q.
การใช้บริการรถไฟฟ้าเป็นอย่างไร มีกี่ประเภท และค่าโดยสารราคาเท่าไหร่
A.
มีรถไฟฟ้า 3 ประเภท คือรถไฟฟ้าบนดิน รถไฟฟ้าใต้ดิน และรถไฟฟ้า ความเร็วสูง (ชินกันเซน)
ซึ่งโดยมากเป็นการให้บริการของรัฐวิสาหกิจ (เจอาร์ Japan Railways) เช่น สายยามาโนเตะ สายเคฮินโทโฮคุ เป็นต้น และบริษัท เอกชน เช่น สายโอดาคิว สายเคโอโคคิว เป็นต้น
ประเภทตั๋วโดยสาร มีดังนี้
• ตั๋วเที่ยวเดียว ราคาค่าโดยสารขึ้นอยู่กับระยะทาง มีจำหน่ายหน้าทางเข้าชานชลา
• ตั๋วแบบชำระค่าโดยสารก่อน (Pre Paid) เป็นบัตรเติมเงินได้ตั้งแต่ 2,000 เยน แต่จะสามารถใช้ได้เพียง 1,500 เยน เพราะต้องชำระค่าบัตรจำนวน 500 เยน (บัตร Suica) ส่วนตั๋วชำระค่าโดยสารก่อนของรถไฟฟ้าใต้ดิน หรือ Pass net ราคาตั้งแต่ 1,000 เยน 3,000 เยน 5,000 เยน (บัตรใช้แล้วทิ้ง ไม่สามารถเติมเงินได้)
• ตั๋วแบบเอนกประสงค์ (Pasmo) เป็นตั๋วชนิดพิเศษสามารถใช้ได้ร่วมกับ ระบบขนส่งภายในญี่ปุ่นได้ทุกประเภท เช่น รถไฟฟ้าบนดิน รถไฟฟ้าใต้ดิน รถเมล์ ต่างๆ เป็นต้น มีรูปแบบเดียวกันกับบัตร Pre Paid ของ Suica
• ตั๋วเดือน ลักษณะคล้ายกับบัตรเติมเงิน โดยกำหนดเป็น รายเดือนราย 3 เดือนราย 6 เดือน (ระยะเวลายิ่งนานก็จะได้รับส่วนลดมากขึ้น) สามารถ ซื้อได้กับนายสถานีทุกสถานี หรือตู้ขายตั๋วอัตโนมัติ
ข้อมูลโดย : สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว http://site.thaiembassy.jp/th/services/living-in-japan/110/
----------------------------------------
#thaijin #ไทยจิน #タイ人 #คนไทยในญี่ปุ่น #หางานญี่ปุ่น #ทำงานญี่ปุ่น #Japanjob #อรุไบท์ #Parttime #งานโตเกียว #โตเกียว #ญี่ปุ่น #งานร้านอาหาร #งานนวด #ทำงานโตเกียว #อยู่ญี่ปุ่น #เที่ยวโตเกียว #เที่ยวญี่ปุ่น #นักเรียนหางาน #เงิน #รวย #พนักงานนวด #งานเสริม #アルバイト #อยากทำงาน #タイ